วิธีการที่เราใช้เลือกอินเตอร์เน็ตคือต้องมี ความเร็วสูง ราคาคุ้ม และบริการหลังการขายที่ดี ส่วนเรื่องอื่น ๆ เราก็ควรจะทำความเข้าใจเอาไว้ด้วย โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีเบื้องหลังอินเตอร์เน็ต อย่างเช่นเน็ตบ้านแบบ Fiber Optic ดียังไง ใช้งานดูหนังฟังเพลงต้องใช้ความเร็วแค่ไหน ราคาเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม นี่หละคือสิ่งที่เราจะมานำเสนอกันในวันนี้ เลือกใช้ผู้บริการอินเตอร์เน็ตที่มี Fiber Optic ใยแก้วนำแสงเป็นเทคโนโลยีทันสมัยที่ถูกนำมาใช้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน มันทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งข้อมูลผ่านเส้นใยแก้วเล็ก ๆ ที่ยืดหยุ่นและโปร่งแสง ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าในระยะทางไกลกว่าสายเคเบิลปกติ เคเบิลอินเทอร์เน็ตแบบดั้งเดิมใช้โครงสร้างพื้นฐานเคเบิลทีวีที่มีอยู่แล้วในการส่งข้อมูล แม้ว่าเคเบิลอินเทอร์เน็ตจะไม่รบกวนการทำงานของโทรทัศน์ของคุณ แต่อาจต้องแบ่งปันการเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ส่งผลให้ความเร็วแปรผันไปตามจำนวนการเชื่อมต่อในพื้นที่บริเวณนั้น ความเร็วที่สายใยแก้วทำได้นั้นมากในระดับ 1,000 Mbps แต่สายเคเบิลจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 100 Mbps เรียกได้ว่าเร็วกว่าเป็นสิบเท่า แล้วด้วยวัสดุที่ใช้ทำจากแก้วจึงไม่มีเรื่องของไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งนี้จะช่วยป้องกันการรบกวนจากสายไฟฟ้าใกล้เคียงหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง นอกจากนี้ยังมีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงจากไฟไหม้ วัสดุไฟเบอร์สามารถทนต่อความผันผวนของอุณหภูมิได้มากกว่าสายเคเบิลทั่วไปที่ใช้กันปกติ อีกทั้งยังแช่อยู่ในน้ำได้โดยไม่มีความเสียหาย หรือลดประสิทธิภาพในการทำงาน เลือกความคุ้มค่า รวดเร็ว และราคาถูก ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมีโปรโมชั่นให้ลูกค้าเลือกมากมาย ก็เพื่อให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบดูหนัง เล่นเกม ก็อาจจะเลือกใช้โปรโมชั่นที่ทั่วไปที่มีความเร็วตั้งแต่ 50 – 100 Mbps เริ่มต้นที่ 600 […]

ถ้าหากเราจะพูดถึงเว็ปไซต์ที่ผู้คนบนโลกใช้สำหรับค้นคว้าหาข้อมูล หลายๆ คนคงคิดถึง Google ซึ่งเว็ปนี้ถือว่าเป็นเหมือนห้องสมุด เป็นแหล่งรวมความรู้ รวมข้อมูลของทุกมุมโลกมาไว้ที่นี่ ไม่ว่าเราจะหาอะไร มีข้อสงสัยแบบไหนเมื่อไหร่ที่คุณคลิกเข้ามาใน Google แล้วคุณจะรู้ทุกอย่างที่คุณต้องการรู้ ได้เห็นทุกอย่างที่คุณต้องการจะเห็น ถึงแม้ว่าสิ่งที่คุณอยากรู้หรืออยากเห็นจะอยู่อีกมุมโลกก็ตาม
Google ถือว่าเป็นเว็ปไซต์หลักที่ผู้คนทั่วโลกในการยอมรับเกี่ยวกับศักยภาพในการทำงานของระบบวงจรอินเตอร์เน็ตในการค้นคว้าหาข้อมูล หลายๆ คนอาจจะอยากรู้แล้วว่า Google นี้มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงทำให้ผู้คนสนใจ รวมถึงยอมรับในความสามารถแล้วนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายกันแล้ว ถ้าพร้อมแล้วก็ตามเรามาได้เลยค่ะ วันนี้เราจะพาให้พวกคุณได้รู้จักกับ Google มากยิ่งขึ้น
Google เป็นบริษัทที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาจากชาวอเมริกัน ซึ่งGoogle จะมีรายได้มหาศาลส่วนใหญ่มาจากการโฆษณาทางออนไลน์ ที่เรามักจะเห็นมันปรากฏอยู่บ่อยๆ ในเสิร์ชเอนจินของ Google อีเมล์ของGmail แผนที่ออนไลน์อย่าง Google map ซอฟต์แวร์ที่มีไว้สำหรับการจัดการต่างๆ ในสำนักงานเพื่อให้ทุกคนทำงานได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนั้นแล้วยังรวมไปถึงเครือข่ายออนไลน์ วีดีโอออนไลน์ และการค้าอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับการค้นหาโดยเฉพาะนั่นเอง
Google มีสำนักงานใหญ่ที่คนทั่วโลกรู้จักกันอย่างแพร่หลายที่เมืองเมาน์เทนวิว ในรัฐแคลิฟอร์เนีย อย่างกูเกิลเพล็กซ์ ซึ่งสำนักงานแห่งนี้มีพนักงานมากมายถึง 16,805 คน ซึ่งจำนวนพนักงานทั้งหลายนี้ได้ถูกนับขึ้นมาเมื่อในปี 2550 เมื่อสิ้นเดือนธันวาคมนั่นเอง
Google มีผู้ก่อตั้งโดยนักศึกษา 2 คนคือแลร์รี่ เพจ กับเซอร์เกย์ บริน นักศึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญของระบบอินเตอร์เน็ตที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยเริ่มแรกGoogle ได้มีสำนักงานอยู่ในโรงจอดรถของเพื่อนสนิทเขาที่เรียนมหาวิทยาลัยด้วยกัน ซึ่งโรงจอดรถนี้อยู่ในเมืองเมนโลพาร์กของรัฐแคลิฟอร์เนีย Google ถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 หลังจากที่ก่อตั้งไม่นานก็มีการเสนอหุ้นของบริษัทกับคนทั่วไปเป็นครั้งแรกเลยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 ด้วยการขายหุ้นครั้งนี้ทำให้ Google นั้นมีมูลค่าถึง 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความสามารถของทั้งคู่ทำให้ Google นั้นถูกพัฒนามาเรื่อยๆ รวมถึงมีการซื้อกิจการอย่างอื่นมาเพื่อให้Google นั้นมีบริการให้กับคนที่เข้ามาใช้บริการอย่างครอบคลุมที่สุด หลังจากนั้นไม่นานมากนักบริษัทGoogle ก็ได้ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อให้ธุรกิจคล่องตัวยิ่งขึ้นซึ่งบริษัทในเครือข่ายที่ถูกตั้งขึ้นใหม่นี้คือ แอลฟาเบต นั่นเอง
1 Comment on “True เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่คนไทยไว้วางใจใช้งานมากที่สุด”
บทความนี้ทำให้เข้าใจถึงการใช้อินเตอร์เน็ตบาคาร่าได้ดีเลยทีเดียว ผมรู้สึกว่าจริงๆแล้วการใช้งานอินเตอร์เน็ตก็เพียงแค่เอาไว้สื่อสารและสร้างความบันเทิงเท่านั้น ไม่ได้เอามาใช้อย่างอื่นมากมาย
Comments are closed.